ดูสินค้าทั้งหมด
Notice
  • Login
  • สมัครสมาชิก
  • ลืม password
  • Thai
R&CFruitS

ว่าด้วยเรื่องของบ๊วย

 รายละเอียดบทความ  วันที่โพส : 8/6/2014  จำนวนคนเข้าชม : 3011


 


ลักษณะทั่วไป

 

บ๊วยเป็นไม้ผลเมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน มีปลูกในประเทศไทยนานแล้ว โดยแพร่เข้ามาทางภาคเหนือ บ๊วยเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกับท้อ พลับ หรือลูกพรุน ลักษณะผลกลมเมื่อยังเล็กมีสีเขียว แต่มีผลแก่เต็มที่จะมีสีเหลืองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร รสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ในญี่ปุ่นและไต้หวันผลจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในไทยผลบ๊วยจะแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณเมษายน บ๊วยอยู่ในสกุล Rosaceaeมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus mume

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
บ๊วยชอบสภาพดินร่วน มีการระบายน้ำดี บริเวณที่ปลูกบ๊วยส่วนมากอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-800 เมตร แต่ที่ดอยอ่างขางซึ่งอยู่สูง 1200-1800 เมตร และแถบลีซานในไต้หวันซึ่งสูงเกือน 2400 เมตร ก็ปลูกบ๊วยได้ดีเช่นกัน บ๊วยต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สำหรับที่จะทำลายการพักตัวของตา ซึ่งจะแตกออกมาในฤดูใบไม้ผลิ แต่บ๊วยไม่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นมากนัก อุณหภูมิสำหรับการเจริยเติบโตของบ๊วยจะอยู่ประมาณ 13-15 เซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำมาก ๆ จะมีผลเสียต่อระบบราก ลำต้น และตาที่แตกในฤดูต่อไป

พันธุ์
ดิน
ระดับความสูง
อุณหภูมิ
พันธุ์ที่ใช้ปลูกกันในปัจจุบันนี้ เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน สำหรับที่อำเภอแม่สายและดอยอ่างขาง มีการปลูกบ๊วยพันธุ์เจียงโถและปิงติง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มาจากไต้หว

การขยายพันธุ์
บ๊วยขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะด้วยเมล็ด ซึ่งไม่นิยมนักเพราะให้ผลช้าและอาจกลายพันธุ์ได้ วิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการขยายพันธุ์บ๊วยคือ การติดตา ซึ่งทำได้ง่าย การติดตานิยมทำในช่วงที่ต้นพักตัว เมื่อผ่านระยะการพักตัวแล้ว ตาที่ติดไว้ก็จะแตกและเจริญเติบโตต่อไป ต้นที่ติดตาจะให้ผลใน 4-5 ปี
สำหรับการใช้ต้นตอนั้นอาจจะใช้ตอบ๊วยด้วยกันหรือต้นตอท้อก็ได้ แต่ถ้าใช้ต้นตอบ๊วยพันธุ์พื้นเมืองก็จะเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นตอท้อ

การปลูก
การเตรียมดิน การขุดหลุมปลูกควรจะให้มีขนาด 1x1x1 เมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยคอดหรือเศษพืชที่เน่าเปื่อยผุพังแล้ว ซึ่งจะทำให้ดินมีคุณสมบัติดีร่วน โปร่ง รากเจริญได้เร็ว ต้นบ๊วย จะเจริญเติบโตได้รวเร็วมาก
การให้น้ำ ในระยะที่บ๊วยออกดอก เป็นช่วงที่บ๊วยต้องการน้ำค่อนข้างมาก แต่ในช่วงที่ติดผลแล้ว ถ้าฝนตกชุกจะทำให้ผลร่วงได้ ในปีหนึ่ง ๆ ควรจะให้ปุ๋ย 2 ครั้ง คือในขณะที่ตาเริ่มแตกหรือก่อนออกดอกเล็กน้อยโดยให้สูตร 13-13-21 และอีกครั้งหนึ่งจะให้เมื่อเก็บผลแล้ว โดยให้สูตร 15-15-15 ก่อนที่บ๊วยจะพักตัว หรืออาจจะแบ่งให้อีกครั้ง ในขณะที่ผลกำลังเติบโตก็ได้ ส่วนปริมาณปุ๋ยที่ให้ขึ้นกับอายุของบ๊วย และสภาพดิน
การให้ปุ๋ย
สำหรับวิธีการให้ปุ๋ย ควรจะขุดเป็นร่องรอบ ๆ ต้นบริเวณชายพุ่ม เมื่อโรยปุ๋ยแล้วกลบดิน และรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายน้ำเป็นประโยชน์ต่อต้นบ๊วยต่อไป นอกจากปุ๋ยวิทยาศาสตร์แล้วควรจะให้ปุ๋ยคอกอีกปีละครั้งเพื่อช่วยให้ต้นบ๊วยเจริญได้เร็วขึ้น การตัดแต่งทำแบบตรงกลางโปร่งและ Modiflied leader ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับการตัดแต่งคือ ในระยะที่ต้นกำลังพักตัว ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อต้นน้อยที่สุด

โรคและแมลง บ๊วยที่ปลูกกับในขณะนี้ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่ร้ายแรงคงมีบ้างเพียงเล็กน้อย เช่นโรคใบจุด ซึ่งไม่ถึงกับทำให้ผลผลิตลดลง พวกหนอนกินใบมีน้อยไม่มีปัญหา อาจจะมีพวกหนอนเจาะกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหักเสียหายได้ อาจใช้โฟลิดอนฉีดเข้าไปในรูปที่พบว่ามีหนอนเจาะแล้วเอาดินเหนียวอุดไว้ ซึ่งจะทำลายตัวหนอนได้
การตัดแต่ง
โรค
แมลง
โดยปกติแล้วชาวสวนจะพ่นยาฆ่าแมลงให้กับต้นบ๊วยในระยะดอกตูม ๆ และเริ่มติดผลเล็ก ๆ เท่านั้น

การเก็บผล
ผลบ๊วยจะสุกไม่พร้อมกันทำให้ต้องเก็บหลายครั้ง ผลจะเริ่มสุกประมาณต้นเดือนเมษายน และจะเก็บไปได้ตลอดเดือน อาจจะเก็บวันเว้นวัน หรือ 2 วันก็ได้ และนิยมเก็บผลด้วยมือ ซึ่งสามารถเลือกเก็บแต่ผลสุกได้ สำหรับผลผลิตของบ๊วยจะขึ้นกับขนาดและความแข็งแรงของต้นด้วย

การใช้ประโยชน์และตลาด
ถึงแม้ว่าผลบ๊วยจะใช้รับประทานสดไม่ได้ ก็สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ให้ประโยชน์ได้มากที่นิยมทำกันอยู่ในขณะนี้ เช่น บ๊วยดองหรือบ๊วยเจี่ย เป็นต้น สำหรับราคาผลสุกจะขายได้กิโลกรัม 13-15 บาท ซึ่งสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ดีอีกพืชหนึ

เอกสารอ้างอิง
  1. โอฬาร ตัณฑวิรุฬห์ การปลูกพลับ วารสารส่งเสริมการเกษตร 2520
  2. เอกสารวิชาการ งานศึกษาไม้ผล สำนังานโครงการเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร
  3. ปวิณ ปุณศรี แนะนำโครงการไม้ผลเมืองหนาว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร

 

ถูกใจบทความนี้ ช่วยกดไลค์หรือแชร์กันหน่อยนะ...
ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้
Save Progress..